พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทางบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทางบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง

เส้นทางสู่อินเดีย

ความเดิมจากภาคแรก :: << อ่านภาคแรก >>

ด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่จะเดินทางไปยังอินเดีย พระถังซัมจั๋ง ได้หลบหนีจากการจับกุม และเดินทางอย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางทะเลทรายโกบีอันแห้งแล้งที่แทบเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด พระถังซัมจั๋งได้เดินทางมาถึงแคว้นเกาชาง ที่นี่ท่านได้เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเจ้าผู้ครองแคว้นเกาชาง ทำให้เส้นทางหลังจากนั้น ท่านไม่ได้โดดเดี่ยว อีกทั้งยังได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้ครองแคว้นต่างๆ ซึ่งเป็นมหามิตรกับท่านผู้ครองแคว้นเกาชาง ถึงกระนั้น การเดินทางก็ยังไม่ได้ราบรื่นซะทีเดียว ท่านและคณะผู้ร่วมเดินทาง ได้ล้มหายตายจากจากการเดินทางผ่านเทือกเขาเทียนซานอันแสนโหดร้าย และพบเจอกับกองโจรต่างๆ

เรื่องราวในภาคสอง ยังคงเป็นการเดินทางที่ยังมีภยันอันตรายต่างๆ โดยจุดหมายปลายทาง คือ ประเทศอินเดีย

ตอนที่ 5 # เอเชียกลาง

ฤดูร้อนปี ค.ศ. 628 พระถังซัมจั๋ง และคณะเดินทางได้มาถึงทะเลสาบอือซึก-เกิล และเดินทางเลียบชายฝั่งจนถึงเมืองซูยับ ปัจจุบันคือ เมืองอัก บิชิม (Ak-Beshim) อยู่ห่างจากเมือง Tokmok ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 8 กม. ในหุบเขา Chui River ซึ่งเป็นประเทศคีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan) ในปัจจุบัน

ร่องรอยในอดีต – วัดพุทธ ในเมืองซูยับ ปัจจุบันเหลือวัดพุทธเหลืออยู่ 2 แห่ง ในเมืองอัก บิชิม (Ak-Beshim) ภาพจากสารคดี ตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม ตอนที่ 3 ปีศาจหกตน

ชาวเติร์กตะวันตกมีอิทธิพลเหนือเอเชียกลาง เยฮูข่าน ต้อนรับพระถังซัมจั๋งที่กระโจมใหญ่ แม้จะเป็นกระโจม แต่ก็หรูหรา ประดับด้วยดอกเงิน ดอกทอง ระยิบระยับ พวกขุนนางสวมเครื่องนุ่งห่มด้วยแพรยกดออกลวดลายงดงาม มีทหารรักษาพระองค์อยู่เบื้องหลัง พระถังซัมจั๋งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นอันเนื่องมาจากสานส์จากแคว้นเกาชาง

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
พระถังซัมจั๋ง พบเยฮูข่าน และได้แสดงธรรมเทศนา ศีล 5 กุศลบท 10 และการบำเพ็ญบารมีเพื่อการหลุดพ้น

เยฮูข่านได้จัดหาเด็กหนุ่มรู้ภาษาจีน แต่งตั้งให้เป็นทูตนำราชสาส์นร่วมเดินทางไปกับคณะของพระถังซัมจั๋ง และส่งท่านให้ถึงแคว้นกปิศา พระถังซัมจั๋งได้เดินทางมาถึงสถานที่ที่มีแหล่งน้ำมากมาย มีบริเวณกว่า 100 กิโลเมตร เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีทะเลสาบมากมาย เป็นสถานที่ที่เยฮูข่านมักจะมาเยือนในฤดูร้อน

ท่านและคณะเดินทาง ต้องเผชิญกับการเดินทางที่ยาวไกล ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) เป็นที่ราบที่แห้งแล้ง แต่ก็ไม่แห้งจนถึงขั้นทะเลทราย ท่านมาถึงเมืองเล็ก ๆ ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ ปัจจุบันคือ เมืองจัมบีล Jambyl ประเทศคาซัคสถาน โดยมีเมืองทาราซ (Talas/Taraz) เป็นเมืองและศูนย์กลางการปกครองของจัมบีล ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนติดต่อกับประเทศคีร์กีซสถาน

เดินทางจนถึงเมือง Tashkent ซึ่งคือเมืองหลวงของประเทศ อุซเบกิสถาน จากนั้นท่านต้องเดินทางผ่านทะเลทรายอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเดินมาได้ 250 กม. ก็มาถึง ซามาร์คันด์ ปัจจุบันคือ ประเทศอุซเบกิสถาน (Samarkand , Uzbekistan)

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
การเดินทางในทะเลทรายแถบประเทศอุซเบกิสถาน แทบจะมองไม่เห็นทางเพราะทรายปลิวในอากาศ
  • ซามาร์คันด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน  เมืองซามาร์คันด์แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคกลาง และในปีพ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) เจงกิสข่านแผ่อาณาจักรเข้าควบคุมเส้นทางสายไหม แล้วได้ยึดซามาร์คันด์ในปีพ.ศ. 1764 (ค.ศ. 1221) อีก 100 ปีต่อมา เมืองนี้ก็เหลือแต่ซาก (ที่มา วิกิพีเดีย)
พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
กษัตริย์และชาวเมืองนี้ไม่นับถือพระพุทธเจ้า พวกเขานับถือศาสนาบูชาไฟ ในเมืองมีวัด 2 แห่ง แต่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ ลูกศิษย์ของท่าน 2 รูป ถูกชาวบ้านจุดไฟไล่เผา เจ้าผู้ครองแคว้นก็ไม่ค่อยให้การต้อนรับ แต่เมื่อท่านได้เพียรอธิบายเรื่องบาป บุญ คุณโทษ สุดท้ายก็ทำให้เจ้าผู้ครองแคว้นชื่นชม สรรเสริญท่าน

หลังจากออกจาก ซามาร์คันด์ ท่านก็เดินทางมาถึง Kosala ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งของ Kosala ปัจจุบันคือ Shahrisabz ประเทศอุซเบกิสถาน

  • เมือง Shahrisabz แปลว่า “เมืองสีเขียว” อยู่ห่างจากซามาร์คานด์ไปทางใต้ประมาณ 80 กม และถือเป็นบ้านเกิดของ ติมูร์ ซึ่งเป็นข่านผู้ยิ่งใหญ่ของพวกมองโกลในเวลาต่อมา

คณะเดินทางมุ่งสู่ภูเขา ซึ่งทางผ่านช่องเขานี้เป็นที่น่ากลัวและอันตรายมาก เป็นเส้นทางแคบๆ เดินได้แค่คนเดียว ปราศจากหญ้าและน้ำ ต้องเดินเป็นระยะทางประมาณ 150 กม จึงจะถึงด่านประตูเหล็ก ด่านประตูเหล็กตั้งอยู่ระหว่างช่องเขาแคบ เหนือประตูมีลูกพรวนเหล็กหล่อแขวนอยู่เป็นอันมาก ที่แห่งนึ้จึงได้ชื่อว่า ช่องภูเขาประตูเหล็ก และเป็นด่านที่มั่นชายแดนของพวกเติร์ก

ด่านประตูเหล็ก
Iron gate (รูปจาก : wiki)

ตอนที่ 6 # มุ่งสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ประเทศอินเดีย

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
การเดินทางในช่วงฤดูร้อน บางเส้นทางต้องเผชิญต่อความยากลำบาก ด้วยอุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศา ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ออกจากด่านประตูเหล็กแล้ว ก็มาถึงแคว้นตุขารา ต่อจากนี้เดินทางอีกหลายร้อยกิโลเมตร ข้ามแม่น้ำอามุรทริยา แล้วมาถึงแคว้นกุนดุช (Kunduz) โอรสองค์โตของเยฮูข่าน นามว่า ดะตุเซะ (เซะ เป็นชื่อบรรดาศักดิ์) พระชายาเป็นน้องสาวของเจ้าครองแคว้นเกาชาง เมื่อพระถังซัมจั๋งและคณะเดินทางมาถึง นางก็ได้ล้มป่วยเสียชีวิตก่อน ดะตุก็ประชวรอยู่ และต่อมาถูกพระชายาที่สมรมใหม่วางยาจนเสียชีวิต พระถังซัมจั๋ง มาเจอเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจนี้ เนื่องด้วยพิธีพระศพ จึงเสียเวลาอยู่ที่นี่เป็นเวลาเดือนเศษ

เมื่อตะเชองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้แนะนำให้ท่านไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เมืองพัลข์ (Balkh) ปัจจุบัน คือ ประเทศอัฟกานิสถาน มีวัดชื่อนวสังฆารามอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ เป็นวัดที่สวยงามอลังการ ที่นี่ท่านยังพบพระสงฆ์ที่นิกายหินยานกว่า 3,000 รูป วัดเกือบ 100 แห่ง รวมถึงภิกษุสงฆ์ชื่อปรัชญากร ซึ่งเป็นภิกษุที่ศึกษาพระไตรปิฎกฝ่ายหินยาน ท่านจึงได้พักอยู่ที่เมืองพัลข์ประมาณเดือนเศษเพื่อศึกษาคัมภีร์และศาสตร์ต่างๆ จากพระปรัชญากร

ท่านได้เดินเข้าสู่แคว้นพามิยาน ดินแดนที่ปัจจุบันคือ ประเทศอัฟกานิสถาน และนี่เป็นครั้งที่สองที่พระถังซัมจั๋งต้องเผชิญกับภูเขาหิมะ การเดินทางครั้งนี้ลำบากยากเข็ญกว่าทุกครั้ง คณะเดินทางต้องเดินผ่านเทือกเขาหิมาลัยที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ เส้นทางที่ท่านเดินผ่านคือ เทือกเขาฮินดูกูช (Hindu kush mountain) พายุหิมะที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้ยากยิ่งขึ้นที่จะผ่านไป ต้องเดินข้ามภูเขาหิมะที่มียอดเขาสูงชัน ดังคำประพันธ์ที่ว่า

เขาน้ำแข็งแลหลั่นชันละลิ่ว หิมะปลิวป่วนปั่นตั้งพันลี้

คำประพันธ์ของกวีโบราณของจีน
  • Hindu kush mountain เป็นเทือกเขาที่มีความยาว 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ที่ทอดยาวผ่านอัฟกานิสถาน จากศูนย์กลางไปยังปากีสถานตอนเหนือและสู่ทาจิกิสถาน
พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง

แคว้นพามิยาน เป็นแคว้นที่ตั้งอยู่ในหุบเขา มีวัดวาอารามมากกว่า 10 แห่ง มีพระสงฆ์หลายพันรูป ท่านพักอยู่ที่นี่ประมาณ 15 วัน และได้เดินทางต่อ เดินไปได้สองวันก็เจอกับพายุหิมะ ทำให้หลงทางไปถึงเขาทรายน้อยๆ พบกับพวกพราน เขาบอกทางแล้วให้เดินข้ามทิวเขาเฮ็กซัว (ทิวเขาดำ)

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
“I lost my sense of the direction the storms”

ในที่สุดก็ถึง แคว้นกปิศา Kapisi (ห่างจากคาบูล (Kabul) ไปทางเหนือประมาณ 60 กม. ) ซึ่งมีอารามมากกว่า 100 แห่งและพระสงฆ์หลายพันรูปซึ่งส่วนใหญ่เป็นนิกายมหายาน นี่เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเก่าแก่ในตำนานของคันธาระ ท่านมีส่วนร่วมในงานชุมนุมปาฐกถาธรรม

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
วิสัชนาธรรม 5 วัน ที่แคว้นกปิศา
  • คาบูล เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศอัฟกานิสถาน

ท่านมาถึงท่านมาถึงเมืองลัมเพ เข้าใจว่าคือเมือง Jalalabad ในปัจจุบัน ท่านมีความประสงค์ที่จะไปนมัสการถ้ำพระฉาย (shadow caves) โดยไปกับศิษย์สองคน ท่านสวดมนต์หลายร้อยจบ จนกระทั่งเกิดความสว่างจ้าเห็นบนถ้ำมีเงาแสงขนาดใหญ่ ท่านรู้สึกเป็นปิติอย่างมาก

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
Shadow caves

ปี ค.ศ.628 พระถังซัมจั๋ง และลูกศิษย์สองคน มาถึงแคว้นคันธาร ณ แม่น้ำสินธุ ตอนนั้นเป็นช่วงฤดูแล้ง นครหลวงของแคว้นเรียกว่าปุรุษปุระ ปัจจุบันคือ เมือง เปชาวาร์ (Peshawar) ประเทศปากีสถาน เป็นเมืองที่มีพระพุทธรูปศิลปะคันธาระ มีพิพิธภัณฑ์ แหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนา ท่านไปเยี่ยมชมสถูปหลายแห่งรอบ ๆ เปชาวาร์ เช่น สถูปของพระเจ้ากนิษกะที่สร้างไว้ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ จากนั้นเดินทางไปยัง แคว้นอุทกขัณฑะ เดิมเคยมีอารามเก่าแก่กว่า 1,400 แห่ง พระสงฆ์ 18,000 รูป ปัจจุบันก็ร่วงโรยไป

  • เส้นทางที่พระถังซัมจั๋งเดินทาง จนถึงตอนนี้ได้แก่ พรมแดนของประเทศ คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan) -> คาซัคสถาน (Kazakhstan) -> อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) -> อัฟกานิสถาน Afghanistan -> ปากีสถาน Pakistan
พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง

ท่านได้มุ่งหน้าไปยัง แคว้นตักศิลา ประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด  ปัจจุบันมี พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ รวมถึงซากสถูป เจดีย์ วัดวาอาราม และศิลปะคันธาระไว้จำนวนมาก จากนั้นเดินทางไปยังเมือง แคชเมียร์ ที่นี่มีอารามกว่า 100 แห่ง ภิกษุสงฆ์ประมาณ 5,000 รูป มีสถูปที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้ ท่านได้พักอยู่ที่เมืองนี้เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้ศึกษาพระสูตรและคัมภีร์ รวมถึงนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แล้วจึงได้ออกเดินทางต่อ

สิงหาคม ปี ค.ศ. 629 ระหว่างเดินทางในป่าแห่งหนึ่ง ท่านได้ถูกโจรประมาณ 50 คน ปล้นสะดม โชคดีที่ลูกศิษย์เห็นทางด้านใต้มีโพรงซึ่งเดิมเป็นลำธารพอคนลอดไปได้ จึงหนีไปทางนั้น ในความโชคร้ายท่านก็ประสบกับเรื่องดีๆ เนื่องจากช่วงที่ท่านอยู่ที่แคว้นแคชเมียร์ ชื่อเสียงของท่านได้ขจรขจายไปยังแคว้นอื่น ทำให้มีคหบดีประมาณ 300 คน นำเครื่องบริโภคมาถวาย

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
ที่แคว้นจีนภูกติ Cinabhukti ที่นี่มีคนจีนอาศัยอยู่ ท่านได้พบกับภิกษุสงฆ์ผู้หนึ่งรูปหนึ่งที่มีความรู้ช่ำชองในพระไตรปิฏก ท่านอยู่ศึกษาศาสตร์ต่างๆ เป็นเวลา 6 เดือน

ปี ค.ศ. 631 พระถังซัมจั๋ง เดินทางมาถึงต้นแม่น้ำคงคา นับเป็นเวลา 4 ปี หลังจากที่เดินทางจากประเทศจีน น้ำในแม่น้ำมีรสจืดสนิท และมีทรายเม็ดเล็กไหลตามกระแสน้ำ มีความเชื่อของศาสนาฮินดูว่า แม่น้ำคงคาสามารถชำระบาปได้ ปัจจุบันคนอินเดียพึ่งพาอาศัยแม่น้ำคงคา ตั้งแต่เกิดจนกะทั่งตาย


ตอนที่ 7 # Gone with the wind

จากแม่น้ำคงคา พระถังซัมจั๋ง แวะสถานที่อื่น ๆ อีกมากมาย ในจำนวนนั้นมีแคว้นกันยากุพชะ (Kanauji) ซึ่งมีอาราม 100 แห่งและพระสงฆ์กว่า 10,000 รูป จากทั้งนิกายมหายานและเถรวาท ที่นี่ท่านศึกษาตำราเถรวาทประมาณ 3 เดือน และได้ออกเดือนทางไปยังแคว้นอโยมุข ขณะที่เรือแล่นอยู่ในแม่น้ำ ทันใดนั้น ก็มีเรือของพวกโจรแล่นเข้ามา คราวนี้โจรไม่ได้แค่ต้องการของมีค่า แต่พวกโจรต้องการมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะงามเพื่อนำมาบูชายัญ ถวายแด่เทพเจ้า พระถังซัมจั๋ง เป็นผู้ที่เหมาะสมในสายตาโจร ไม่ว่าท่านจะพูดอย่างไร โจรก็ไม่ฟัง พวกโจรนำท่านขึ้นไปบนแท่นบูชาและเริ่มเตรียมที่จะประหาร อย่างไรก็ตามท่านไม่แสดงอาการกลัวหรือโกรธมีเพียงการยอมรับอย่างสงบในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

จากนั้นท่านก็นั่งสมาธิบนแท่นบูชาและเริ่มสวดมนต์ชื่อของพระโพธิสัตว์โดยไม่แสดงอาการดิ้นรน ทันใดนั้นเกิดลมพายุพัดแรงมาทั้ง 4 ด้าน ต้นไม้ใหญ่หักโค่น ฟ้าร้องและฟ้าผ่า แม้แต่เรือของโจรก็ถูกซัดจนคว่ำ พวกโจรต่างกลัว ผู้ร่วมเดินทางบอกโจรว่า เทพเจ้าพิโรธแล้ว พวกโจรรู้สึกกลัว แต่ขณะนั้นท่านไม่รู้สึกตัว แม้แต่ลมหรือฝนก็ไม่สามารถทำลายสมาธิได้ เมื่อหัวหน้าโจรขึ้นไปบนแท่นบูชาและแตะกายท่าน ท่านจึงลืมตาขึ้นมาถามว่า “ถึงเวลาบวงสรวงหรือยัง” พวกโจรบอกขอกลับใจ ไม่ทำร้ายท่านและขอขมาแก่ท่าน

พระถังซัมจั๋งเข้าสู่สภาวะฌานบนแท่นบูชายัญ

ท่านเดินทางข้ามแม่น้ำคงคา ถึงแคว้นอโยมุข เดินทางต่อไปจนถึงแคว้นโกสัมพี ที่นี่มีพระราชวังเก่า และได้เดินทางจนถึงแคว้นสาวัตถี มีอารามหลายร้อยแห่ง ภิกษุสงฆ์หลายพันรูป แคว้นนี้เดิมเป็นนครหลวง พระเจ้าปเสนทิโกศล อุปถัมภ์พุทธศาสนา ในบริเวณใกล้เคียงมีหลุมใหญ่และลึก ซึ่งเป็นหลุมที่พระเทวทัตโดนแผ่นดินสูบ จากนั้นท่านเดินทางถึงแคว้นกบิลพัสดุ์ (Kapilavastu)

ลุมพินี ประเทศเนปาล – สถานที่ประสูติ ภาพจากรายการ พื้นที่ชีวิต ตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม ตอนที่ 4 พระพุทธองค์
สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของชาวบ้านบริเวณ ภาพจากรายการ พื้นที่ชีวิต ตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม ตอนที่ 4 พระพุทธองค์

ท่านเดินทางจนถึงเมืองกุสินาราซึ่งกลายเป็นที่รกร้าง เดินทางไปยังแคว้นพาราณสี (Varanasi) อารามมฤคทายวัน เมืองเวลาสี (Vaishali) เมืองเศวตปุระ แคว้นมคธ จากนั้นไปยังพุทธคยา (Mahabodhi Temple) สักการะ พระมหาโพธิเจดีย์  อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
ท่านได้มานมัสการ ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ด้วยความเศร้าสลดใจ เนื่องจากตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ไม่รู้ว่าตนเองอยู่แห่งหนใด เพิ่งจะมาถึงที่นี่ ก็ได้แต่เห็นพระปฏิมาของพระองค์ เมื่อคิดว่าเป็นบาปกรรมของตนก็ยิ่งสลดใจจนน้ำตาไหล
  • พระอานนท์ทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนนี้ออกพรรษาแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเดินทางมาจากทิศานุทิศเพื่อเฝ้าพระองค์ฟังโอวาทจากพระองค์บัดนี้พระองค์จะปรินิพพานเสียแล้ว ภิกษุทั้งหลายจะพึงไป ณ ที่ใด?”
  • “อานนท์สถานที่อันเป็นเหตุให้ระลึกถึงเราก็มีอยู่ คือสถานที่ที่เราประสูติแล้ว คือลุมพินีวันสถาน สถานที่ที่เราตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก คือ อิสิปตนมิคทายะ แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ที่เราตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ บรรลุความรู้อันประเสริฐทำกิเลสให้สิ้นไป คือโพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และสถานที่ที่เราจะนิพพาน ณ บัดนี้คือป่าไม้สาละ ณ นครกุสินารา อานนท์เอย สถานที่ทั้ง ๔ แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถาน สาราณียสถานสำหรับให้ระลึกถึงเราและเดินตามรอยบาทแห่งเรา”

ตอนที่ 8 # ศึกษาพระคัมภีร์ที่อินเดีย

ปี ค.ศ. 631 มีพระภิกษุสงฆ์ และฆราวาสจำนวนมาก มาต้อนรับพระถังซัมจั๋ง และนำขบวนไปยังอารามนาลันทา ท่านได้เคารพต่อหน้าพระอาจารย์ศีลภัทร์ เจ้าอาวาส ท่านศีลภัทร์เล่าถึงนิมิต ที่จะได้พบเจอพระถังซัมจั๋ง และได้หยิบยื่นความเมตตาและไม่ตรีที่ดีต่อท่าน

<< อ่านเรื่อง อัตวินิบาตกรรม >> นิมิตอันใดที่ทำให้ท่านศีลภัทร์ถึงกับตั้งหน้าตั้งตารอพระถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋ง ถึงอารามนาลันทา

ที่อารามนาลันทา มีภิกษุสงฆ์นับหมื่นที่มีความรู้ในพระสูตรต่างๆ ถึง 20 หมวด มีประมาณ 1,000 รูป ที่รู้ 30 หมวด มีประมาณ 500 รูป และที่รู้ 50 หมวด มีเพียง 10 รูปรวมทั้งพระถังซัมจั๋ง มีเพียงพระอาจารย์ศีลภัทร์ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความรู้ทั้งหมด ท่านจึงเป็นผู้ทรงธรรมและสูงอายุ มีฐานะเป็นประมุขแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้ศึกษาในนาลันทาแห่งนี้ ต่างขะมักขะเขม้นเล่าเรียน เคร่งครัด และปฏิบัติสืบทอดกันมากว่า 700 ปี ยังไม่เคยมีผู้ใดกล่าวหาว่าประพฤติละเมิดศีลธรรมเลย

อารามนาลันทา แปลว่า อารามที่ไม่เบื่อในการให้ทาน พระราชาทรงโปรดให้หัวเมืองต่างๆ จัดส่งเครื่องบริโภคบริโภค ทะนุบำรุงอาราม ซึ่งทำให้สงฆ์ไม่ต้องกังวลเรื่องจตุปัจจัย ทำให้การศึกษาที่นี่ได้รรับการส่งเสริมอย่างดียิ่ง

ที่นี่ท่านได้รับการอุปัฏฐากเป็นอย่างดี ของถวายในแต่ละวัน ได้แก่ผลไม้ 120 ผล ถั่ว 20 ข้าวสาลี และอื่นๆ มีผู้รับใช้ 2 คน รวมถึงจะพาหนะ คือ ช้าง มีเพียงภิกษุสงฆ์แค่ 10 รูปเท่านั้นที่ได้รับการต้อนรับเช่นนี้

ท่านได้ฟังเทศนาโยคาจารภูมิศาตร์ 3 จบ และศาสตร์อื่นๆ และภาษาสันกฤต ขณะที่พักอยู่ที่นาลันทาเป็นเวลา 5 ปี

หลังจากที่ได้ศึกษาอยู่ที่นาลันทาเป็นเวลา 5 ปี ท่านปรารถนาที่จะศึกษายังที่ต่างๆ และเดินทางไปทั่วอินเดียรวมทั้งประเทศทางตอนใต้เยี่ยมชมสถานที่ทางพระพุทธศาสนาและข้ามทะเลไปยังศรีลังกาซึ่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปี จึงกลับมาที่อารามนาลันทาอีกครั้งในปี ค.ศ.640 ตอนนี้เป็นเวลาทั้งหมด 14 ปี นับจากที่ท่านเดินทางจากประเทศจีน

พระถังซัมจั๋ง – ประวัติ บันทึกการเดินทาง และตามรอยพระถังซัมจั๋งบนเส้นทางสายไหม # ภาคสอง
ท่านได้เข้าร่วมการโต้ปัญหาธรรม ในเรื่องที่ขัดแย้งต่างๆ ในความเห็นต่างของแต่ละลัทธิ

ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวในอินเดีย ในหนังสือบันทึกพระถังซัมจั๋ง เขียนไว้ว่า

คืนวันหนึ่งฝันไปว่า ที่อารามนาลันทานั้น ตามห้องหอรกร้างรุงรังทั่วไป มีแต่กระบือผูกไว้ ไม่มีพระภิกษุสงฆ์เหลืออยู่เลย ในฝันว่าได้เดินเข้าไปทางหอพระราชาพาลาทิตย์ ประตูด้านตะวันตก เห็นบนหอชั้นที่ 4 มีท่านผู้หนึ่ง วรรณเป็นทองคำเรืองอร่ามเปล่งแสงสว่างทั่วบริเวณห้อง ในใจรู้สึกยินดี อยากขึ้นไปบ้าง ก็ขึ้นไม่ได้ จึงขอร้องให้ท่านผู้นั้นพาตนขึ้นไป แต่ท่านผู้นั้นตอบว่า

“เราคือ มัญชุศรีโพธิสัตว์ ตัวท่านยังไม่หมดเวรกรรม จึงขึ้นมาไม่ได้” แล้วชี้ออกไปทางนอกอารามแล้วกล่าวว่า “ท่านเห็นไหม” ท่านอาจารย์หันมองไปตามที่ชี้ ก็แลเห็นภายนอกอารามกำลังเกิดเพลิงลุกลามเผาผลาญบ้านเมืองพินาศลงเป็นเถ้าถ่านไปสิ้น แล้วพระโพธิสัตว์องค์นั้นจึงกล่าวต่อไปว่า “ท่านควรรีบกลับจากประเทศนี้เสียโดยเร็ว อีก 10 ปี ข้างหน้า พระราชาศีลาทิตย์จะสิ้นพระชนม์ ในอินเดียจะเกิดจราจลรบฆ่าฟันกันเป็นทุรยุค ท่านจงทราบไว้เถิด”

อ่านต่อ ตอนถัดไป